Monday, September 21, 2009

สถานการณ์ด้านสังคม

เวียดนามมีจำนวนประชากรในกลางปี พ.ศ.2545 รวมทั้งสิ้น 80,639 ล้านคน (อันดับ 14 ของโลก) เป็นชายร้อยละ 49.2 เป็นหญิงร้อยละ 50.8 โดยมีอัตราการเพิ่มของประชากรในปี 2544 ร้อยละ 1.3 มีอัตราการเกิดที่ 19.9 ต่อประชากร 1,000 คน และอัตราการตายที่ 65 ต่อประชากร 1,000 คน พลเมืองประกอบด้วยหลายชนชาติ ถึง 54 ชนชาติ โดยมีชนชาติกิงห์ (Kinh) เป็นประชากรส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 87.1 หรือประมาณ 69 ล้านคน ตั้งถิ่นฐานอยู่ทั่วประเทศ และจะอยู่อย่างหนาแน่นบริเวณที่ราบต่ำ (Red River Delta) ที่ราบชายฝั่งทะเลภาคกลางไปจนถึงที่ราบต่ำสามเหลี่ยม น้ำโขง ในภาคใต้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สำหรับส่วนที่อยู่ในชุมชนเมืองจะเป็นข้าราชการ พ่อค้า นักธุรกิจ ส่วนที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อยเชื้อสายต่าง ๆ จำนวน 53 กลุ่ม จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 8 ล้านคน เป็นชนชาติกลุ่มอื่นๆ 12.9 %, ไต่ 14 %, ไท 12 %, ฮวา 12 %, แขมร์ 11 %, เหมื่อง 11 %, หนุ่ง 8 %, และอื่นๆ อีก 32 % โดยอาศัยกระจัดกระจายบริเวณที่ราบสูงและภูเขา (2 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศ) ตั้งแต่บริเวณตอนเหนือจรดบริเวณตอนใต้ของประเทศ นอกจากนั้นโครงสร้างประชากรของเวียดนาม ขนาดครอบครัวของเวียดนามโดยเฉลี่ย 5 คนต่อครอบครัว แต่กำลังจะลดน้อยลงทั้งในเมืองและในชนบท



ด้านการศึกษา รัฐบาลยอมลงทุนให้การศึกษาแก่เยาวชนมาก ระดับการอ่านออกเขียนได้ของประชาชนค่อนข้างสูง ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป มีอัตราอ่านออกเขียนได้ 86.6%



ด้านอาชีพและแรงงาน ส่วนใหญ่จะทำการเกษตรและป่าไม้ อุตสาหกรรมแปรรูป หรือการค้าส่งปลีกและซ่อมของใช้ส่วนตัว การเปิดประเทศและการปฏิรูปทางเศรษฐกิจทำให้ประชาชนเวียดนามมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างเมืองกับชนบท ปัญหาการว่างงานในเมือง ปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและความชอบธรรมของรัฐบาลเวียดนามในอนาคต หากรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเหมาะสม ซึ่งรัฐบาลเวียดนามได้พยายามส่งเสริมการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2545 รัฐบาลสามารถส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านคน และจัดอบรมวิชาชีพแก่ประชาชน 1 ล้านคน นอกจากนี้ ยังได้ส่งแรงงานไปต่างประเทศ 46,000 คน โดยส่วนใหญ่ไปทำงานที่ไต้หวัน และเกาหลีใต้

No comments:

Post a Comment