Saturday, September 26, 2009

น้ำจิ้มแบบเวียดนาม


"Nước chấm"

เป็นน้ำจิ้มสไตล์เวียตนามที่พบเห็นได้บ่อยบนโต๊ะอาหาร เหมือนซอสน้ำจิ้มบ๊วยที่เหลวใสเกือบเหมือนน้ำสีส้มเข้ม โดยที่เราเองก็สามารถปรุงได้ที่บ้าน ลองทำดูสิครับ น้ำจิ้มมีส่วนประกอบเครื่องปรุงดังนี้




-น้ำมะนาว 1 ส่วน ใช้น้ำส้มสายชูแทนก็ได้หรือน้ำมะขามก็ดีจะอมหวานด้วย สีอาจเทาบางคนไม่ชอบ

-น้ำปลา 1 ส่วน

-น้ำตาล 1 ส่วน

-น้ำสะอาด 2


ส่วนบางคนชอบเติมกระเทียมสับ พริกสดทุบพอแหลกเอาเม็ดออก เพิ่มผงชูรส แครอทฝานเป็นเส้นๆ ฯลฯ ปกติจะอุ่นน้ำผสมน้ำตาล ให้ละลายก่อน รอให้เย็นลงจึงปรุงส่วนผสมลงไป เปรี้ยวหวานมันเค็มแล้วแต่คนชอบ สูตรไม่ตายตัว ทั่วไปจะเน้นรสหวานแหลมนำเปรี้ยวจี๊ด เผ็ดรองลงมา โดยนำมากินกับอาหารดังนี้

-"ข้าวเกรียบ "(Cơm tấm เกิม ตั๊ม) อันนี้บ้านเรามี

-"ปอเปี๊ยทอด"(Chả giò จ๋า หย่อ) อันนี้บ้านเรามี

-"ก๋วยเตี๋ยวหลอด"(Gỏi cuốn ก๋อย ก้วน) อันนี้บ้านเรามี

-"ขนมกระเบื้องญวน"(Bánh Xèo บั๊น แซ่ว) แผ่นแป้งทอดปรุงใส่น้ำกะทิ คล้ายหอยทอดบ้านเรา ใส่กุ้ง หมู ถั่วลิสงบด เป็นแผ่นแป้งเหลืองกลมพับครึ่งเวลาเสิร์ฟ ขอเรียกว่า พิชซ่าถาดเวียตนาม แล้วกัน

-"ก๊วยเตี๋ยวญวนคลุกขลิก"(Bánh hõi บั๊น ฮอย) เทียบได้กับข้าวเกรียบปากหม้อบ้านเราแต่ไม่ใส่ไส้ ทำจากแป้งข้าวเจ้าคล้ายเส้นก๋วยเตี๋ยวหลอดหลายแผ่น วางซ้อนพอคำ เพื่อไม่ให้แผ่นแป้งติดกันเป็นก้อนจึงใส่น้ำมัน และหอมเจียว ใส่เนื้อหมูแผ่น เติมน้ำจิ้มลงไปคลุกเคล้าแห้งๆ
ใครทำได้อร่อยอย่าลืมเอามาแบ่งกันชิมบ้านนะครับ

Friday, September 25, 2009

สังคมครอบครัวเปลี่ยน เด็ก-ผู้เฒ่าเวียดนามว้าเหว่

ผลสำรวจของรัฐบาลเวียดนามซึ่งถูกนำมาเผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี (26 มิ.ย.) เผยให้เห็นว่าสภาวะความกดดันในสังคมปัจจุบันนี้กำลังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากต่อโครงสร้างทางครอบครัวในเวียดนาม ซึ่งมีผลให้อัตราการอย่างร้างเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการที่เด็กเล็กและผู้สูงอายุใช้เวลาอยู่ตามลำพังมากยิ่งขึ้น

การผลการสำรวจครอบครัวจำนวนมากทั่วประเทศพบว่า ความเท่าเทียมทางเพศนั้นได้รับการพัฒนาอยู่ในระดับที่ดีขึ้น แต่ผู้ชายก็ยังคงเป็นผู้นำในครอบครัวเช่นเดิม และพบว่ายังมีความรุนแรงระหว่างคู่สมรสเกิดขึ้นถึง 20% ด้วยกัน

โครงการสำรวจดังกล่าวเป็นการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลและกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ UNICEF โดยสอบถามครอบครัวต่างๆ ถึง 9,400 ครอบครัวใน 64 เมืองทั่วประเทศ

"หลังจากที่นโยบายโด่ยเหมย (doi moi) เพื่อการปฏิรูปทางเศรษฐกิจได้ถูกนำมาใช้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเวียดนามเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในแทบทุกด้าน รวมถึงความสัมพันธ์ภายในครอบครัวด้วย" ผลการสำรวจ กล่าว

โด่ยเหมยหมายถึง "การเปลี่ยนใหม่" อันเป็นนโยบายที่พรรคคอมมิวนิสต์กำหนดออกมาใช่ช่วงทศวรรษที่ 1980 ซึ่งนำไปสู่การปฏิรูปทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง

เวียดนามเคยมีรูปแบบสังคมที่เป็นชนบท ซึ่งแนวคิดแบบขงจื้อมีอิทธิพลอย่างมากต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว ทำให้เด็กๆ ต้องความเคารพต่อผู้ที่โตกว่า รวมทั้งผู้หญิงต้องเชื่อฟังสามีของตนด้วย

อย่างไรก็ตามผลการสำรวจพบว่าประเพณีหรือขนบธรรมเนียมทางสังคมต่างๆ ในเวียดนามมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากขึ้น จากในช่วงที่ปี 1975 เรื่อยมาจนกระทั่งการเปิดประเทศเพื่อติดต่อกับนานาชาติมากขึ้นในทศวรรษที่ 1990 ส่งผลให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจตามมา

"การหย่าร้าง" ซึ่งเป็นคำที่มักไม่ค่อยจะได้ยินกันในอดีต แต่กลับเป็นปัญหาอย่างมากในปัจจุบัน เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา การอย่าร้างในเวียดนามเพิ่มขึ้นถึง 2.6% ในวัยตั้งแต่ 18 - 60 ปี โดยหญิงที่ขอหย่าส่วนใหญ่มักจะให้เหตุผลในเรื่องของความแตกต่างทางทัศนคติและการใช้ชีวิต การนอกใจรวมทั้งความยากลำบากทางเศรษฐกิจ

ผลการสำรวจยังพบว่า ผู้ปกครองจำนวนมากในขณะนี้มีความรู้สึกว่าไม่สามารถใช้เวลาอยู่กับลูกๆ ได้อย่างเพียงพอ และยังเป็นห่วงในเรื่องของพัฒนาการทางด้านอารมณ์และจิตใตของเด็กๆ อีกด้วย

"มันไม่ใช่เรื่องของความไม่ต้องการ หรือการทอดทิ้ง...พ่อแม่จำนวนมากจำเป็นต้องทำงานเพื่อให้ครอบครัวได้อยู่รอด ดังนั้นจึงทำให้พวกเขาไม่มีเวลาที่จะอยู่กับลูกๆ อย่างเพียงพอ" นายเจสเปอร์ มอร์ช (Jesper Morch) หัวหน้าสำนักงาน UNICEF ในเวียดนามกล่าว

ในบรรดาครอบครัวทั้งหมดที่ทำการสำรวจ มีจำนวนเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่มีผู้สูงอายุอาศัยรวมอยู่ด้วย

"ครอบครัวที่มีสมาชิกอาศัยอยู่รวมกันถึง 3 รุ่นนั้นเป็นสิ่งที่พบไม่มากนักในปัจจุบันและกำลังลงเรื่อยๆ ซึ่งอาจะเป็นเพราะการที่เวียดนามมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมแบบอุตสาหกรรมมากขึ้น" รายงานที่ร่วมกันจัดทำระหว่างสถาบันครอบครัวและเพศศึกษาแห่งเวียดนาม (Vietnam's Institute of Family and Gender Studies) กล่าว.

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

บทที่ 5 Đến thăm một người bạn (การไปเยี่ยมเพื่อน)

บทสนทนา


John : Chào anh Nam. สวัสดีคุณนาม

Nam : Chào anh Jonh. สวัสดีคุณจอห์น

Đây là Mai, vợ tôi, mới đến Úc. นี่มาย, ภรรยาผม พึ่งมาถึงออสเตเรีย

John : Mừng chị được đoàn tụ với anh Nam.
ยินดีกับคุณนามด้วยนะครับ

Nam : Xin cảm ơn ông.
ขอบคุณครับ

John : Mời anh chị ngồi.
เชิญนั่งก่อนสิครับ

Anh chị uống trà hay cà phê?
จะรับชารึกาแฟดีครับ

Mai: Dạ, cho tôi trà.
ขอชาค่ะ

Nam: Tôi cũng vậy.
เหมือนกันครับ

(หยุดสักครู่)

John : Trà có quá đậm không chị?
ชาร้อนไปรึเปล่าครับ?

Mai : Dạ không. Trà rất vừa. Cảm ơn ông.
ไม่เลยค่ะ กำลังพอดี ขอบคุณค่ะ

John : Thế thì tốt.
งั้นก็ดีแล้วล่ะครับ

Mai : Đây là trà cúc, phải không ông?
นี่เป็นชาผลไม้รึเปล่าค่ะ

John : Đúng vậy.
ใช่แล้วครับ

Chị có thích không? ชอบมั๊ยล่ะ ครับ

Mai : Dạ thích lắm. Trà có mùi thơm quá !
ชอบมากค่ะ ชาหอมมาก

John: Anh chị có mấy cháu rồi?
มีลูกกี่คนแล้วล่ะครับ

Nam: Chúng tôi chưa có con.
พวกเรายังไม่มีลูกหรอกครับ

Mai : Xin lỗi ông, ông được mấy cháu?
โทษนะค่ะ แล้วคุณมีลูกกี่คนแล้วค่ะ

Jonh: Tôi được hai cháu, một trai và một gái.
ผมมี 2 คนครับลูกชายกับลูกสาว

Mai: Các cháu vẫn còn đi học chứ?
ยังเรียนหนังสืออยู่รึเปล่าค่ะ

John: Dạ phải. Chátu trai vừa tốt nghiệp đại học.
ครับ ลูกชายพึ่งจะเข้ามหาวิทยาลัย

Mai: Xin mừng ông.
ยินดีด้วยนะค่ะ

Thursday, September 24, 2009

Tradition Vietnamese New Year


วันที่ 1 มกราคม จะยังไม่ใช่ปีใหม่ของชาวเวียตนาม แต่เขาจะเรียกว่า "นำ เม้ย ก๊วก เต๊=ปีใหม่สากล(international new year)" ส่วนปีใหม่ตามประเพณีก็ช่วงวันตรุษจีน ซึ่ง เรียกว่า Tet=เต๊ด...ซึ่งก็คล้ายกับจีน มีวันไหว้ วันจ่าย วันเที่ยว เหมือนกัน เดินทางไปเยี่ยมญาติ เมาได้ทุกบ้าน อวยพรก็
"จ่าว บั๊ก จ่าว โก=สวัสดีคุณลุง สวัสดีคุณป้า"

"จุ๊ก หมึ่ง นำ เม้ย=สวัสดีปีใหม่"

"หั่น ฟุก วุย แหว๋=ขอให้มีความสุข"

"ซุก แคว๋ หงิ่ว ล้ำ=สุขภาพแข็งแรง"

ก่อนเที่ยงคืนที่จะข้ามวันใหม่ แขกที่มาบ้าน หรือสมาชิกบ้าน จะออกไปนอกบ้าน พอเสียงไซเรนหรือ หวอ ดังมาจากที่ทำการของรัฐ หรือเขตทหารตำรวจราชการ ดังขึ้น ก็เป็นสัณญาน ว่าปีใหม่แล้ว สมาชิกหรือแขกจะไปเคาะประตู พร้อมอวยพรดังกล่าวต่อเจ้าบ้าน เป็นความเชื่อแบบว่า ถ้าเป็นแบบนี้ เจ้าของบ้านจะมีโชคดี มีความสุขเงินทองไหลมาเทมา ส่วนการนำเงิน หลี่สี่ หรือ อั่งเปาของจีน ก็ช่วงนี้เช่นกัน จะนำเงินใส่ซองแดงมอบให้กับผู้ใหญ่ หรือผู้น้อย เพื่อเป็นสิริมงคล ที่จะได้รับโชคมากๆในปีต่อไป และเชื่ออย่างนึงเหมือนจีน ก็คือ จะไม่ทำงาน เพราะเชื่อว่าจะทำให้ทำงานหนักตลอดปี ช่วงที่ไปเมืองโฮจิมินห์ ผมและเพื่อนคนเยอรมัน หาข้าวกินไม่ได้เลยเพราะร้านปิดหมด แต่ยังดีที่พก มาม่า(=หมี่ ก๋อย)จากบ้านเรามา ไม่งั้นเราอดกันแน่แน่

สวัสดีปีใหม่ทุกคนครับ

หมวกเวียดนาม (non la)


อาจจะเคยเห็นสาว ๆ ใส่เสื้อผ้าสวยๆ ตามแฟชั่นสมัยนิยม ใส่หมวกที่มีราคาแพงๆ สีสันสวยงาม น่ามอง เช่นเดียวกับสาวเวียดนาม ที่มีเสน่ห์จากหมวกเช่นเดียวกัน แต่หมวกของเธอเหล่านั้นมีเอกลักษณ์ ไม่เหมือนชนชาติอื่นๆ แถมยังใช้ประโยชน์ได้มากมายอีกด้วย เป็นหมวกใบจาก ที่มีไม่เหมือนใคร เรียกว่า Non la ( น๊อน ล้า) แต่ทางภาคอีสานบางพื้นที่จะเรียกว่า กุบ ที่อื่น ๆ อาจจะเรียกแตกต่างกันก็ได้ผมไม่รู้ แต่เป็นหมวกนี้เองที่ทำให้สาว ๆ เวียดนาม มีเสน่ห์ไม่แพ้ประเทศอื่นใดในโลก

หมวกนี้ทำจากใบจาก ที่สามารถหาได้ทั่วไป เวลาจะทำต้องนำใบจากนั้นมาตากแดดให้แห้ง แล้วนำมารีดให้เรียบ เป็นแผ่น ๆ ซึ่งปกติแล้ว หมวกใบหนึ่งจะประกอบด้วย ใบจากประมาณ 16-18 ใบ และใช้มือเย็บอย่างปราณีต ซึ่งจะทำให้หมวกนี้ละเอียด ทนแดด ทนฝน

เมื่อสาวเวียดนามใส่หมวกใบนี้แล้ว จะมีเสน่ห์ก็ตรงที่จะเผยให้เห็นใบหน้าบางส่วนเท่านั้น ตรงนี้เองที่ทำให้มีเสน่ห์น่าค้นหา หมวกนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมสร้างเสน่ห์ให้สาวเวียดนามเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของชนชาติเวียดนามอีกด้วย

Wednesday, September 23, 2009

อุปนิสัย ความเป็นอยู่ชาวเวียดนามในไทย


ลักษณะเด่นของชาวเวียดนาม คือ เป็นกลุ่มคนที่มีความขยันขันแข็งและมีความอดทนเป็นพิเศษ แม้คนจีนก็ยังยอมรับว่าคนญวน มีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพมากว่าตน ในเรื่องน้ำอดน้ำทนของคนญวนไม่มีชาติใดในเอเชีย ที่เหนือกว่าคนญวน การที่คนญวนสามารถทนทำสงครามต่อสู้กับสหรัฐอริเมริกาเป็นเวลานานนับ 10 ปี ทั้งๆ ที่ประเทศของตนประสบกับความเสียหายอย่างยับเยิน จากการโจมตีที่ทิ้งระเบิดของสหรัฐ ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ อย่างดีถึงความอดทนของคนญวน เมื่อคนญวนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ก็ตั้งหน้าทำมาหากิน ประกอบกับการที่รัฐบาลไทยในระยะนั้น ได้ให้อุปการะช่วยเหลือ ทำการจัดสรรแบ่งที่ดินให้ทำกิน และให้ยืมทุนในการประกอบอาชีพรวมทั้งปล่อยให้ทำมาหากินโดยอิสระเสรี ไม่มีการกีดกั้นหรือหวงห้ามแต่อย่างใดจึงเป็นผลให้คนญวนสามารถสร้างฐานะความเป็นอยู่ ให้เป็นปึกแผ่นขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดคนญวนก็สามารถสร้างฐานะทางเศรษฐกิจของตนให้เหนือกว่าคนไทยในชุมชน

คนญวนประกอบอาชีพเกือบทุกประเภท นับแต่ด้านการเกษตร การช่างฝีมือต่าง ๆ เช่น ช่างไม้ ชางเหล็ก ช่างกลึง ช่างนาฬิกา ช่างไฟฟ้าวิทยุ ช่างเย็บเสื้อผ้า ช่างเครื่องยนต์ ต่อตัวถังรถยนต์ อาชีพค้าขายทุกชนิด การประมง การแพทย์ ถ่ายรูป การค้าขายในตลาดสด เป็นต้น ด้วยความขยันหมั่นเพียร และการมีน้ำอดน้ำทน สามารถประกอบอาชีพได้ทุกชนิดโดยไม่มีการรังเกียจ ผลจึงปรากฎว่า ชุมชนใดที่มีกลุ่มชาวญวนอยู่ อิทธิพลทางเศรษฐกิจจะตกอยู่ในมือของคนกลุ่มนี้เป็นส่วนใหญ่

ด้านสังคม ในท้องถิ่นที่มีคนญวนอาศัยอยู่ คนญวนจะรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น คบค้าสมาคมเฉพาะคนญวนด้วยกัน สรุปแล้วในด้านสังคมส่วนมากคนญวน แสดงออกโดย

(1) "ใช้เวลาว่างเล่นกีฬาทุกชนิด" กีฬาที่นิยมเล่นได้แก่ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเล่ย์บอล เป็นต้น จุดประสงค์ของการเล่นกีฬา ก็เพื่อปลูกฝังความสามัคคี ในหมู่คนญวน


(2) "จัดงานแสดงออกซึ่งพลังแห่งความสามัคคี" ในวันสำคัญของตน เช่น วันเกิดโฮจิมินห์ วันชาติเวียดนาม เป็นต้น เพื่อปลูกจิตสำนึกให้รักชาติ รักและบูชาโฮจิมินห์

ฉะนั้นสังคมโดยสรุปแล้ว ชาวญวนต้องการมีอิสระเสรีที่จะเดินทางไปไหนมาไหนได้ โดยไม่ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับที่ทางการกำหนดไว้ สำหรับคนญวนอพยพ และชาวญวนส่วนมากไม่ต้องการเดินทางกลับเวียดนาม ถึงจะรักภักดีต่อประเทศเวียดนามก็ตาม สาเหตุเพราะ ในระยะหลัง ได้มีญวนรุ่นใหม่เกิดขึ้น ญวนกลุ่มใหม่นี้ไม่เห็นประเทศเวียดนามมาก่อน ความ รู้สึกผูกพันในประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของบิดามารดา ก็ย่อมไม่แน่นแฟ้นเหมือนญวนรุ่นเก่า และชาวญวนยังเคยชินต่อระบบเศรษฐกิจแบบเสรี มีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย เมื่อเทียบกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนญวนในเวียดนาม จึงไม่ปรารถนาที่จะกลับเวียดนามและพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทย

การศึกษาสูง ๆ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ญวนต้องการมีสัญชาติไทย เด็กญวนที่เกิดในเมืองไทย ทางราชการได้ผ่อนปรนให้เข้าเรียนในระดับต้นๆ ในท้องถิ่นที่ญวนอาศัยอยู่ แต่การศึกษาในระดับสูง ๆ นั้น มีปัญหาเพราะต้องใช้หลักฐานหลายอย่างที่คนญวนอพยพไม่มี เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้เด็กญวน ที่ต้องการเรียนต่อ ต้องหาทางให้ได้มาซึ่งสัญชาติไทย และอีกทางที่ทำได้ก็คือการให้คนไทยรับเป็นบุตรบุญธรรมด้วยวิธีการ ทำให้มีลูกหลานญวน ได้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย

บทที่ 4 ตัวเลข

0- không

1-một

2-hai

3-ba

4-bốn 5-năm 6-sáu7-bảy

8-tám 9-chín 10-mười

11-mười một

12-mười hai

13-mười ba

14-mười bốn

Tuesday, September 22, 2009

ทำไมเวียดนามจึงพัฒนาเศรษฐกิจได้เร็ว?


ไม่น่าเชื่อเลยนะครับ ประเทศเวียดนามที่อยู่ติดกับบ้านเราจะพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจได้เร็วขนาดนี้ ซึ่งอัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของเวียดนามอยู่ที่ 8.4 % ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในรอบ 9 ปี อัตราการเจริญเติบโตสูงเป็นอันดับสองของเอเชีย รองจากประเทศจีนเท่านั้นเอง

สาเหตุที่ทำให้ประเทศเวียดนามเติบโตด้านเศรษกิจได้เร็วอาจเป็นเพราะ

1. นโยบายปฏิรูปเศรษกิจ ที่เรียกว่า โด่ย เหมย ของรัฐบาล ซึ่งเวียดนามได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า จะขยายอัตราเพิ่มของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เติบโตอีก 8 % หรือมากว่า ภายในปี 2553

2. มีการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความรู้ นั่นคือ ประเทศเวียดนามจะให้ความสำคัญของการศึกษามาก โดยเฉพาะการศึกษาภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสำคัญที่จะใช้ในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ในเมืองใหญ่ ๆ เช่น โฮจิมินต์ ซิตี้, ฮานอย จะมีโรงเรียนสอนภาษาอยู่เป็นจำนวนมาก

3. ปรับปรุงคุณภาพของการศึกษา ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเร่งรัดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งให้ความสำคัญเช่นเดียวกับการศึกษา จะเห็นว่าแรงงานของประเทศเวียดนามมีคุณภาพมาก ซึ่งผมก็เห็นด้วยเพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้ทำงานและเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพวกเขา เห็นว่าต้องต่อสู้ดิ้นรน เพราะสภาพทางด้านการเมืองในอดีต ซึ่งส่งผลให้ปัจจุบันกลายเป็นอุปนิสัยของคนส่วนใหญ่

4. มีชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งภายในประเทศเองก็ได้ออกกฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับการลงทุนของชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศ เพื่อให้ชาวต่างชาติมีสิทธิเช่นเดียวกับชาวเวียดนามในการลงทุนค้าขาย และกฎที่ออกนี้จะสอดคล้องกับกฎขององค์การการค้าโลกหรือ WTO ซึ่งเวียดนามเพิ่งจะเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อไม่นานมานี้เอง

5. เวียดนามได้อำนวยความสะดวกให้กับชาวต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศเวียดนาม โดยเปิดสำนักงานเพื่ออำนวยความสะดวก นอกจากจะมีที่สหรัฐอเมริกาแล้ว จะมีโครงการไปเปิดที่ ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ และในยุโรป (แต่ยังไม่มีในประเทศไทย)

6. ได้จัดให้มีการจัดงานเกี่ยวกับวันของเวียดนามขึ้นต่างประเทศต่างๆ ขึ้นเป็นประจำทุกปี ทำให้ชาวต่างชาติได้รู้จักประเทศเวียดนามมากขึ้น

7. ประเทศเวียดนามเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมืองอย่างมาก

8. ด้านการขนส่งคมนาคมก็มีความสะดวก เพราะสามารถขนส่งได้ทั้งทางบกและทางน้ำ

9.เวียดนามเป็นตลาดขนาดใหญ่ ที่มีประชากรกว่า 84 ล้านคน

จากประเด็นต่างๆ เหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เวียดนามเจริญเร็วขึ้น ทำให้ต้องย้อนมาดูเมืองไทยของเราบ้าง อันที่จริงอาจมีอีกหลายประเด็นที่ยังไม่ได้พูดถึงหรือมองข้ามไป จะยังไงก็แล้วแต่ก็น่าจะเรียนรู้เอาไว้บ้าง ไม่เสียหลาย

เรียบเรียงจาก : มติชนสุดสัปดาห์
Nguyen Anh Bob

เชื่อรึไม่??ที่เวียดนามก็มีหิมะตก


เชื่อรึเปล่าครับว่าเวียดนามก็มีหิมะ???

ตอนแรกผมไม่เชื่อครับ แต่พอได้มาอ่านข่าวนี้ ก็เลยเชื่อ ถ้ามีโอกาสก็อยากไปสักครับ ซาปา ดินแดนแห่งขุนเขา เนื้อหาข่าวมีดังนี้ครับ

>>>ร่องความกดอากาศสูงที่พาดผ่านภาคเหนือในช่วงที่ผ่านมา ทำให้อุณหภูมิในเขตภูเขาภาคเหนือหนาวเย็นลงระดับ 2-4 องศาเซลเซียส ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์

เวียดนามแจ้งว่า จังหวัดทางตอนบนสุดของประเทศอาจจะเผชิญอากาศที่หนาวเย็นลงอีก เวลาประมาณบ่าย 2 โมง วันศุกร์ (2 กพ.) ได้เกิดหิมะตกลงในเขตนิคมซาปา ของเมืองซาปา (Sa Pa) ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวตากอากาศยอดนิยมใน จ.ล่าวกาย (Lao Cai) หิมะตกนานติดต่อกันราวครึ่งชั่วโมง แผ่ปกคลุมพื้นดินเป็นมวลบางๆ ซึ่งเป็นเหตุการณ์หาดูได้ยากในเมืองนี้

หลังข่าวแพร่สะพัดออกไป นักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางไปที่นั่น ทุกคนหวังอยากจะเห็นหิมะตกลงอีกสักครั้ง นักท่องเที่ยวนั่งมองทิวทัศน์จากห้องพักของเขาในซาปา ที่นั่นเป็นเมืองแห่งขุนเขา หิมะอาจจะเป็นข่าวดีสำหรับการท่องเที่ยว

แต่สำหรับเกษตรกรในนิคมต่างๆ แถบนั้น มันเป็นข้าวร้าย เพราะหิมะได้ทำลายพืชผลของพวกเขา รวมทั้งไม้ดอกชนิดต่างๆ ที่เตรียมจะนำออกจำหน่ายในช่วงเทศกาลตรุษอีกด้วย ซาปาเป็นอีกท้องถิ่นหนึ่งงที่มีการปลูกดอกไม้สวยงามและพืชเมืองหนาวต่างๆ ป้อนตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์เวียดนามนิวส์.

Monday, September 21, 2009

สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวเวียดนาม


สวัสดีครับ.. ช่วงนี้ ก็ใกล้จะปิดเทอมแล้ว พวกเพื่อน ๆ ก็ชวนกันไปเที่ยวที่ต่าง ๆ แต่มีส่วนมากเลยนะครับที่ชวนกันไปเที่ยวเวียดนาม ผมว่า ช่วงนี้ เวียดนามกำลังบูมเรื่องทางท่องเที่ยวมากเลยล่ะ ดูจากสถิติสิครับ เนื่องจากการเดินทางไปได้สะดวก และราคาก็ไม่แพง (ผมก็ยังคิดอยู่เลย) ก็เลยเอาข้อมูล มาให้ดูกันนะครับ เผื่อว่าจะได้กระตุ้นอะไรได้บ้างในการท่องเที่ยวของเมืองไทย ผมว่าเมืองไทยก็มีดีหลายอย่างนะครับ แต่การที่ได้เรียนรู้จากผู้อื่นแล้วนำมาเป็นบทเรียน ก็เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ เพื่อสร้างความเข้าใจ ไม่ใช่แบ่งแยก

รายงานว่า ช่วงไตรมาสแรกของปี 2546 มีนักท่องเที่ยวจำนวน 712,500 คน เดินทางมาท่องเที่ยวเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2545 กล่าวคือ เป็นนักท่องเที่ยวจากจีน 174,000 คน ญี่ปุ่น 82,200 คน สหรัฐฯ 81,800 คน กลุ่มประเทศอาเซียน 72,600 คน และเกาหลีใต้ 35,900 คน
จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศเวียดนามรวมทั้งหมดในเวลา 11 เดือนของปี 2549 นี้ เพิ่มขึ้น 19.5% มากกว่าปี 2548 ที่ผ่านมา จำนวนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 3 ล้านคน สำหรับปี 2548 และเมื่อถึงสิ้นปี คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะมีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 3.3 -3.4 ล้านคน รองผู้อำนวยการทั่วไปการท่องเที่ยวแห่งประเทศเวียดนาม นายฟาม ถู (Pham Thu) ระบุ

การท่องเที่ยวแห่งประเทศเวียดนาม ถือว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นนี้ เป็นผลมาจากการดำเนินการในระดับเข้มข้นของ บริษัทตัวแทนท่องเที่ยวต่างๆ เช่น การเพิ่มการโฆษณาประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และการปรับปรุงภาคการบริการให้ดีขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆอีก เช่น การให้อนุญาตของรัฐ ในการให้นักท่องเที่ยวจากประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ เข้าประเทศโดยทางรถยนต์ได้ รวมไปถึงการเปิดเส้นทางบินตรงจากประเทศสหรัฐ ญี่ปุ่น และรัสเซีย มายังเวียดนาม

จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากรัสเซีย กัมพูชา สิงคโปร์ ไทย เกาหลีใต้ และมาเลเซีย มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี ตั้งแต่ 40-120% ในปัจจุบัน อัตราการจองที่พักโรงแรมอยู่ที่ 65% ส่วนในโรงแรมระดับ 4 และ 5 ดาว เพิ่มขึ้นที่ 90% ทั้งในกรุงฮานอย นครโฮจิมินห์ และจังหวัดชายฝั่งภาคกลาง บิ่งทวน

สถานการณ์ด้านสังคม

เวียดนามมีจำนวนประชากรในกลางปี พ.ศ.2545 รวมทั้งสิ้น 80,639 ล้านคน (อันดับ 14 ของโลก) เป็นชายร้อยละ 49.2 เป็นหญิงร้อยละ 50.8 โดยมีอัตราการเพิ่มของประชากรในปี 2544 ร้อยละ 1.3 มีอัตราการเกิดที่ 19.9 ต่อประชากร 1,000 คน และอัตราการตายที่ 65 ต่อประชากร 1,000 คน พลเมืองประกอบด้วยหลายชนชาติ ถึง 54 ชนชาติ โดยมีชนชาติกิงห์ (Kinh) เป็นประชากรส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 87.1 หรือประมาณ 69 ล้านคน ตั้งถิ่นฐานอยู่ทั่วประเทศ และจะอยู่อย่างหนาแน่นบริเวณที่ราบต่ำ (Red River Delta) ที่ราบชายฝั่งทะเลภาคกลางไปจนถึงที่ราบต่ำสามเหลี่ยม น้ำโขง ในภาคใต้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สำหรับส่วนที่อยู่ในชุมชนเมืองจะเป็นข้าราชการ พ่อค้า นักธุรกิจ ส่วนที่เหลือเป็นชนกลุ่มน้อยเชื้อสายต่าง ๆ จำนวน 53 กลุ่ม จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 8 ล้านคน เป็นชนชาติกลุ่มอื่นๆ 12.9 %, ไต่ 14 %, ไท 12 %, ฮวา 12 %, แขมร์ 11 %, เหมื่อง 11 %, หนุ่ง 8 %, และอื่นๆ อีก 32 % โดยอาศัยกระจัดกระจายบริเวณที่ราบสูงและภูเขา (2 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศ) ตั้งแต่บริเวณตอนเหนือจรดบริเวณตอนใต้ของประเทศ นอกจากนั้นโครงสร้างประชากรของเวียดนาม ขนาดครอบครัวของเวียดนามโดยเฉลี่ย 5 คนต่อครอบครัว แต่กำลังจะลดน้อยลงทั้งในเมืองและในชนบท



ด้านการศึกษา รัฐบาลยอมลงทุนให้การศึกษาแก่เยาวชนมาก ระดับการอ่านออกเขียนได้ของประชาชนค่อนข้างสูง ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป มีอัตราอ่านออกเขียนได้ 86.6%



ด้านอาชีพและแรงงาน ส่วนใหญ่จะทำการเกษตรและป่าไม้ อุตสาหกรรมแปรรูป หรือการค้าส่งปลีกและซ่อมของใช้ส่วนตัว การเปิดประเทศและการปฏิรูปทางเศรษฐกิจทำให้ประชาชนเวียดนามมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างเมืองกับชนบท ปัญหาการว่างงานในเมือง ปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและความชอบธรรมของรัฐบาลเวียดนามในอนาคต หากรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเหมาะสม ซึ่งรัฐบาลเวียดนามได้พยายามส่งเสริมการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2545 รัฐบาลสามารถส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านคน และจัดอบรมวิชาชีพแก่ประชาชน 1 ล้านคน นอกจากนี้ ยังได้ส่งแรงงานไปต่างประเทศ 46,000 คน โดยส่วนใหญ่ไปทำงานที่ไต้หวัน และเกาหลีใต้

Saturday, September 19, 2009

การแก้ปัญหาจราจร ในประเทศเวียดนาม


ใครที่เคยไปประเทศเวียดนามก็คงรู้นะครับว่า การจราจรที่นั่นเป็นอย่างไร ส่วนใครที่ไม่เคยไปก็ขอให้ลองนึกภาพมด ครับ มดที่กำลังแตกรัง สังเกตุรึเปล่าครับว่า มดมันเดินชนกันบ้างรึเปล่า สภาพของมดเป็นยังไง สภาพการจราจรของประเทศเวียดนามก็ไม่ต่างกันเลย

ยิ่งถ้าเป็นเมืองใหญ่ ๆ เช่น โฮจิมินห์ เว้ รึว่า ฮานอย ยิ่งจำนวนรถมากเท่าไหร่ยิ่งส่งผลให้จราจรติดขัดมากเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลของประเทศเวียดนามเองก็ได้ใช้หลายๆ มาตราการในการแก้ปัญหาจราจรนี้ (ไม่ต่างจากบ้านเราเลย หุ หุ)

เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว (8 กันยายน 2550) รัฐบาลของเวียดนามก็ได้ใช้มาตรการในการแก้ปัญหาดังนี้คือ

1. คิดจัดทำแผน "ถนนปลอดรถ" ขึ้นมาในช่วงวันสุดสัปดาห์ โดยห้ามยวดยานทุกชนิดเข้าไปยังถนนหลายสาย แผนการดังกล่าวครอบคลุมถนนสายสำคัญ ทั้งหมดก็เพื่อให้ผู้คนสามารถเดินเหินได้อย่างสะดวกในช่วงสุดสัปดาห์

2.ลงทะเบียนพาหนะของประชาชนในพื้นที่ "ถนนปลอดรถ" เพื่อให้สามารถผ่านเข้าออกได้ ในช่วงที่มีการประการใช้มาตรการถนนปลอดรถ

ซึ่งทางการเวียดนามบอกว่า หากมาตราการนี้ใช้ได้ผลก็จะนำไปใช้ในเขตอื่นๆ ด้วย ในเรื่องถนนปลอดรถนี่ ผมเคยได้สัมผัสเมื่อตอนไปเที่ยวที่ ฮอยอัน ซึ่งในช่วงเวลากลางวันจะไม่มีรถวิ่งเสียงดังเลย (เสียงดัง เพราะปกติจะบีบแตรกันจนหนวกหู) ทำให้ในเมืองฮอยอันทั้งเงียบทั้งโรแมนติก ผมคิดว่าในเมืองไทยมีหลายที่ถ้าไม่มีเสียงรถ ไม่มีเสียงแตร คงจะทำให้น่าอยู่ขึ้นเยอะ ว่ามั๊ย..

จาก..ผู้จัดการออนไลน์

บทที่ 3 Mon an Vietnam (อาหารเวียดนาม)


Mai : Chị Lan, buổi tiệc chủ nhật này, chị đĩnh đãi khánh những món gì ?



Lan : Chị đĩnh làm xúp cưa và gỏi sứa để khai vị. Món chính thì sẽ có chả giò, bánh cuốn, mì xào giòn, tôm lăn bột chiên.

Mai : Có cả bánh phồng tôm để ăn với gỏi sứa chứ ?

Lan : dĩ nhiên rồi, Em thấy có cần thêm món ăn nào nữ không ?

Mai : có thể thêm cơm chiên thâp cẳm hoăc xôi mặm để mọi người ăn cuói bữa.

Lan : Ừ, phải đấy. Còn mó ăn tráng miệng, chị định nấu chè hạt sen và bánh ngọt.

Mai : Được đấy Em sẽ giúp chi môt tay.

คำศัพท์เกี่ยวกับอาหาร

นวดแบบเวียดนาม


Mát xa=มัด ซา เป็นการนวดเพื่อสุขภาพ ต้นสำเนียงมาจากภาษาอังกฤษจากคำว่า Massage(มัดสาด) เท่าที่เคยสังเกต ชีวิตประจำวันการทำงานคนเวียต จะใช้ชีวิตบนหลังมอไซต์ ส่วนมากจะปวดหลังและเอว ทำให้ปวดเมื่อยบ่อยๆ รวมทั้งความเครียดจากการทำงาน จึงต้องหาคนมานวดให้สบายเนื้อสบายตัวบ้าง อย่างมีสตางค์ก็ไปใช้บริการหาเองตามโรงแรมที่เขาให้บริการ บางที่จ่ายเงินหลังบริการ รับกุญแจล๊อกเกอร์ เก็บเสื้อผ้ากระเป๋าตังค์ในช่องเก็บล๊อกกุญแจพร้อมคล้องคอหรือมือไปด้วย(เว้นแต่ ตั้งใจให้เขาบริการบางอย่างเป็นพิเศษ ก็เอากระเป๋าตังค์ติดไปด้วย) ทีนี้ก็ลงอ่างชำระล้างร่างกาย อบไอน้ำสมุนไพร พอให้เหงื่อระบายสักห้าถึงสิบนาทีในห้องอบ ซึ่งจะอบสาระพัดอย่าง เช่นการะบูร ไม้หอมกฤษณา สมุนไพรจีน กะเพรา มีหินร้อนวาง เอาน้ำราด เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นกับร่างกาย พอได้เหงื่อเต็มที่ จนรูขุมขนเปิด ก็โดดแก้ผ้าลงอ่างน้ำวน(จากุ๊สชี่) ทันที เนื่องจากผิวหนังที่ตึงเครียดนั้นจะเกิดจากกรดแลคติกสะสม ในกระบวนการทางร่างกาย ก็จะถูกขับออกไป ทำให้รู้สึกเบาสบายเหมือนปุยนุ่น จากนั้นก็อาบน้ำ ถูสบู่ สระผม รวมๆตั้งแต่เริ่มเข้ามา ตกประมาณ สามสิบถึงสี่สิบนาที เข้าห้องใครห้องมันจะมีหมอนวดสาวๆหรือแก่ๆ หมอจะเริ่มสนทนา ด้วยภาษาเวียต ใครพูดได้สื่อได้ก็โชคดี พูดได้ฟังได้นิดหน่อยก็โชคดีไปอีกแบบ ฮ่า...จากนั้นก็ตัวใครตัวมัน การนวดเท่าที่ผมไปมา โดยมากจะนวดคอ ลำตัว ดัดตัว โดยส่วนตัวผมยังหาที่นวดแล้วประทับใจยังไม่มี อาจเพราะผมไม่ค่อยได้ขี่มอไซต์เหมือนคนเวียตนามเลยไม่เมื่อยถึงจุดก็ได้ ส่วนมากจะเขาจะนวดผิดจุดทุกที ฮ่า...แต่ยอมรับว่า หมอแต่ละคนเขาคัดมาจริงๆ คิดว่าหน้าตาคล้ายดาราทีเดียว เสียอย่างเดียวคุยกันไม่ค่อยรู้เรื่อง สนนราคาทั่วไป ก็ประมาณ ห้าร้อยบาท (ปี 2006) ส่วนทิป(=หลี่ สี่)นั้นก็แล้วแต่ความชอบในบริการ (ส่วนมากหมอที่ชอบพอจะแลกเบอร์กัน และชอบชวนเราไปเที่ยวที่บ้าน พบพ่อแม่)


นวดอีกแบบก็คือการนวดตามร้านตัดผม ซึ่งในโฮจิมินห์และปริมณฑลจะมีร้านตัดผมเป็นจำนวนเยอะมากๆ เพราะลงทุนน้อย ไม่ต้องเรียนอะไรมามากก็ทำได้ หลังจากตัดผมเสร็จ(ปี 2004 ราคาก็อยู่ระหว่าง 20-200 บาท) จะเลือกบริการอะไร ก็มีทั้ง แคะหู นวดตัว นวดหน้า ลอกสิวเสี้ยน มีครบ พอเจอคนต่างชาติเขาจะชอบมากๆ( เพราะทิปหนัก) บริกรสาวจะถามชื่ออะไร คนประเทศไหน อายุเท่าไร โสดหรือเปล่า ทำงานอะไร ซึ่งผมค่อนข้างจะได้ยินบ่อยมาก (ทำให้ภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทยจริงๆ ถึงแม้จะจน ฮ่า...) บางครั้งก็เลยเถิดเกินไปกว่าการนวด ทำให้ผมไม่ค่อยชอบ เพราะไปนวดทีไร เมื่อยหนักกว่าเก่าทุกที(อย่าคิดลึกนะครับไม่ได้ XXX กัน) เพราะเธอนวดแต่คออย่างเดียว จนคอผมเคล็ดไปเลย บางที่ก็นวดน้ำมันเอาแต่นวดจุดนั้นจุดเดียว ไปไปมามา ก็ยิ่งเมื่อยมากกว่าเก่า ขอเตือนนักเที่ยวนิดนึงให้ ระวังเอดส์(=สี ดา) ด้วยเพราะเวียตนามมีผู้ติดเชื้ออยู่เป็นจำนวนมาก และเรื่องเพศศึกษายังลึกลับล้าหลัง ยังไงก็หาถุง(=บาว กาว ชู หรือคำล้อเลียน น๊อง บ๋าว เห-ม) มาป้องกันไว้ก่อนดีกว่า เพราะมีคนไทย/ฝรั่งตาย กันเยอะ


นวดอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งผมว่าน่าจะตรงกับหัวข้อ ก็คือ มัด สาด เดลิเวอรี่ คือบริการถึงบ้าน หรือถึงที่ ผมเคยพบ บางครั้งก็บริการคนขับรถบรรทุกตามข้างถนนหรือข้างทาง ผู้เฒ่าผู้แก่ตามบ้าน ลุงป้าที่เมื่อยตัว หรือบริการให้กับกลุ่มมอไซต์รับจ้างในตรอกซอกซอย อย่าคิดลึกนะครับ ฮ่า...เขาเป็นหมอนวดชายก็รุ่นๆหน่อยปั่นจักรยานถือกระพรวนที่ทำจากฝาจีบเครื่องดื่ม ขี่ไปเขย่าไปดัง แซะๆ เปิดบริการช่วงตอนบ่ายๆถึงเที่ยงคืน บ้านไหนต้องการให้บริการก็ตะโกนเรียกทั้งจับเส้นนวด น้ำมัน บางเจ้าก็นวดความร้อนประคบ หรือVacuum สูญญากาศ คือใช้ถ้วยดินเผา หรือแก้ว เป่าให้ร้อนแล้วไปวางตามแผ่นหลัง ตรงจุด ชี่(น่าจะเป็นจุดชีพจรสำคัญของร่างกาย)ประมาณแปดจุดหน้าหลังลำตัวคนเรา ทำให้รู้สึกร้อนและเลือดวิ่งไปรวมกัน ณ จุดนั้น เพื่อนเวียตที่ร่วมงานเขานิยมมาก ถอดเสื้อแต่ละทีหลังช้ำเป็นดวงๆเลย เขาว่ามันดีต่อสุขภาพ ครั้งหนึ่งก็ยี่สิบบาท ซึ่งก็ไม่แพง หรือบางคนใช้แผ่นปิดพลาสเตอร์ยาตามจุดปวดเมื่อยก็มี อย่างสองข้างลำคอแผ่นหลัง ขมับ อันนี้บ้านเราก็มีขาย ส่วนฝังเข็มคลายเส้นนั้นก็มี แต่ผมไม่ค่อยเห็น


นวดวิธีสุดท้าย อันนี้เป็นนวดฉบับชาวเหนือ เฟือง บั๊ก (สงสัยจะไม่ค่อยมีคนรู้จัก ฮ่า..) เป็นนวดเฉพาะ ส่วนหัว ที่ผมคิดว่าทำให้หายเครียดมากที่สุด อันนี้เป็นสูตรชาวบ้านเท่าที่เข้าใจ ต้องนอนคว่ำหน้ากับตัก เขาจะนวดโดยการจะดึงเส้นผมเป็นกระจุกๆละประมาณสิบห้าถึงสามสิบเส้น กระตุกพอตึงมือสักสองครั้งสามครั้ง วนไปทุกจุดทั่วศรีษะ จากนั้นก็นวดขมับ คิ้วคาง ท้ายทอย จนผมเพลินเผลอหลับไปหลายครั้งเลย อันนี้ไม่เสียตังค์ แต่เสียค่าเลี้ยงข้าว อ่ะ...

ขอบคุณข้อมูลจาก.. http://members.thai.net/VIET/

Friday, September 18, 2009

บทที่ 2 Đối thoại(บทสนทนา) Dialog


เกริ่นนำ
บทนี้ผมจะอธิบายคร่าว ๆ เกี่ยวกับเรื่องตัวเลข และเรื่องอื่น ๆ เช่น การบอกเวลาที่ถูกต้องให้กับชาวเวียดนาม ถ้าท่านเดินทางไปยังประเทศเวียดนามจะได้สามารถถามเวลากับคนเวียดนามได้ หรือแม้แต่ชาวเวียดนามมาถามเวลาจากท่าน จะได้ตอบได้ ไม่หน้าแตก ในบทนี้จะช่วยให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นกว่าบทที่แล้ว


บทสนทนาที่ 1
Dung: Mấy giờ rồi, anh?
Phong: Ba giờ rồi.

หยุง: กี่โมงแล้วครับ
ฟ่อง: สามโมงแล้ว

Từ vựng (คำศัพท์)
giờ เหย่อ โมง(เวลา)
mấy มั๊ย กี่,เท่าไหร่
mấy giờ มั๊ย เหย่อ กี่โมง
rồi โหร่ย แล้ว
Mấy giờ rồi, anh? มั๊ย เหย่อ โหร่ย อันกี่โมงแล้วครับพี่

ตัวเลขในภาษาเวียดนาม
một โหมด 1
hai ฮาย 2
ba บา 3
bốn โบ๊น 4
năm นำ 5
sáu เซ๊า 6
bảy บ๋าย 7
tám ต๊าม 8
chin จิ๊น 9
mười เหมื่อย 10
mười một เหมื่อย โหมด 11
mười hai เหมื่อย ฮาย 12
Ba giờ rồi. บา เหย่อ โหร่ย สามโมงแล้ว



บทสนทนาที่ 2
Dung: Bây giờ mấy giờ rồi?
Phong: Ba giờ rồi.
Dung: Mấy giờ anh đi Sàigòn?
Phong: Bốn giờ tôi đi.

หยุง ตอนนี้กี่โมงแล้ว
ฟ่อง สามโมงแล้ว
หยุง กี่โมงคุณจะไปไซงอน?
ฟ่อง สี่โมงผมจะไป

Từ vựng (คำศัพท์)
bây giờ เบย เหย่อ ตอนนี้
đi ดี ไป
Mấy giờ anh đi Sàigòn? มั๊ย เหย่อ อัน ดี ไซ งอน กี่โมงคุณจะไปไซงอน
Bốn giờ tôi đi. โบ๊น เหย่อ โตย ดี สี่โมงผมไปครับ

บทสนทนาที่ 3
Ông Hải: Xin lỗi bà, bây giờ mấy giờ?
Bà Cúc: Dạ, bảy giờ.
Ông Hải: Cám ơn bà.
Bà Cúc: Dạ, không có gì.

Từ vựng (คำศัพท์)
cám ơn ก๊าม เอิน ขอบคุณ
không có gì คง ก๊อ หยี่ ไม่เป็นไร

หวังว่าทุกท่านคงเดากันได้นะครับ...บาย

การคมนาคมในประเทศเวียดนาม



ประเทศเวียดนามเป็นประเทศที่ติดกับทะเล ไม่ต้องสงสัยนะครับว่าทำไม เพราะยิ่งสงสัยก็จะยิ่งงง ??? (นี่ผมนอกเรื่องรึเปล่าเนี้ย) จึงมีคาบสมุทรที่ค่อนข้างยาวมั๊ก ๆ ดังนั้นการเดินทางในประเทศเวียดนามจึงสามารถเดินทางคมนาคมระหว่างเมือง ได้ 3 เส้นนั่นก็คือ เส้นใหญ่ เส้นก๊วยจั๊บ เส้นหมี่ ฯลฯ เอ้ย!! ไม่ใช่ เส้นทางที่ผมว่านั่นก็คือ ทางบก ทางอากาศ และทางเรือ ต่างหากเล่า


และเนื่องจากประเทศเวียดนามมีเมืองที่มีขนาดใหญ่ อยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ เช่น ภาคเหนือ ก็มีเมืองฮานอย ฮอยนาง ภาคกลางก็มีเมืองเว้ (ภาษาเวียดนามไม่ได้เรียกเว้นะครับ แต่เวลาพูดต้องบีบจมูกก่อนและพูด หะ-เว้) ภาคใต้มีเมืองไซงอน หรือ เมืองโฮจิมินท์ การเดินทางระหว่างเมืองเหล่านี้ มีความสะดวกสบาย แต่การเดินทางคมนาคมระหว่างเมืองใหญ่ ไปเมืองเล็กอาจมีความยากลำบากพอสมควร และยังเป็นปัญหาอยู่บ้าง สำหรับบางพื้นที่



การเดินทางคมนาคมในประเทศเวียดนาม หากเป็นการเดินทางระหว่างเมืองใหญ่ด้วยกัน ค่อนข้างสะดวกตามที่กล่าวมาแล้ว เพราะว่าสามารถเลือกเดินทางได้มากมาย เช่น ถ้าหากจะเดินทางจากเมืองโฮจิมินท์ไปยังเมืองฮานอย ก็สามารถเดินทางไปโดยเครื่องบิน เพราะรวดเร็วและสะดวกสบายที่สุด ส่วนการเดินทางภายในตัวเมืองนั้นก็ไม่ต้องเป็นห่วงเพราะว่ามีรถโดยสารประจำทางอยู่ทั่วไป และค่าโดยสารก็ไม่แพงจนเกินไป

ส่วนระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ คือ รถไฟฟ้าใต้ดิน-บนดิน 2 สายแรกจะเปิดให้บริการได้ก็ในอีกประมาณ 5 ปีข้างหน้า และ คาดกันว่าระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน-บนดินอีก 4 สาย กับระบบรถไฟฟ้าแบบราวเดี่ยว หรือ โมโนเรล (Monorail) จะเปิดให้บริการได้ใน 8-10 ปีข้างหน้า

ตามสถิติที่เป็นทางการปัจจุบันในนครโฮจิมินห์มีรถยนต์ราว 286,000 คัน รถจักรยานยนต์อีก 4 ล้านคัน.

Monday, September 14, 2009

ประวัติชุดประจำชาติเวียดนาม(2)


ชุดประจำชาติเวียดนาม หรือ ชุด Ao dai นี้ (อ่านว่า อาว หญ่าย) นอกจากจะนิยมใช้กันในเมืองใหญ่ ๆ แล้ว ตามชนบทก็เป็นที่นิยมด้วย เนื่องจากเป็นชุดที่ใส่แล้วสบาย เพราะเนื้อผ้า ค่อนข้างละเอียด

ชุด Ao Dai ในปัจจุบันที่เห็นกันอยู่นั้น มักมีการดัดแปลงไปตามสมัยนิยม ซึ่งต่างจากอดีตมากทีละเล็กทีละน้อยที่ชาวเวียดนามประยุกต์เอาแฟชั่นตามสมัยนิยมให้เข้ากับวัฒนธรรมการแต่งกายของตน ได้มีชาวเวียดนามคนหนึ่ง ชือ Tram Kim ได้นำชุดนี้เข้าไปตัดเย็บในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ การนำแฟชั่นเข้ามาสู่ชุดAo Dai นี้

เขาได้ย้าย ไปที่ แคลิฟอเนีย ประมาณ ปี 1982 และเปิดร้านตัดเย็บเสื้อผ้าที่นั่น จนมีชื่อเสียง และคนทั่วไปรู้จักเขาในนามว่า Mr.Ao Dai เมื่อชุด Ao Dai เป็นที่นิยมแล้วก็ได้มีการจัดการประกวดมิสAo Dai ด้วย ในหาดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งที่เมืองแคลิฟอเนีย เป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดผู้คนมาจากทั่วทุกสารทิศให้มาร่วมงานนี้ เพื่อที่จะได้ยลโฉม สาวในชุด Ao Dai

ชุด Ao Dai นี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักออกแบบเสื่อผ้ามืออาชีพหลายคน หันมาสนใจอย่างจริงจัง และหลายครั้งก็ได้นำแนวความคิดของชุดนี้ มาตัดเย็บในเสื่อผ้าของชาวยุโรป และนำไปโชว์ในงานแฟชั่นตามที่ต่างๆ โดย เฉพาะที่ ปารีส ฯลฯ

ปัจจุบันได้มีช่างตัดเย็บเสื้อผ้ามากมาย ที่ได้รับงานตัดชุดจากลูกค้าต่างประเทศ ซึ่งชุดหนึ่งก็ประมาณ 2 พัน บาท ของไทย แต่ชุดนี้ จะต้องวัดตัวลูกค้าอย่างละเอียด เพื่อที่จะได้ชุดที่ออกมาพอดี สวยงาม การที่ผู้คนนิยมก็อาจเป็นเพราะว่าชุดนี้ใส่สบาย และดูสวยงาม สาวเวียดนามบางคนเลือกมาเป็นแฟชั่นประจำตัวเลยทีเดียว

ข้อมูลจาก
http://en.wikipedia.org/wiki/Ao_dai

ประวัติชุดประจำชาติเวียดนาม


ชุด "อ่าว หญ่าย"

ความประทับใจหนึ่งที่ผู้มาเยือนประเทศเวียดนามไม่เคยลืมเลย นั่นก็คือ ความสวยงามของหญิงสาวในชุด ประจำชาติของเวียดนาม หรือ ที่เรียกว่าชุด อ่าว หญ่าย

หญิงสาวชาวเวียดนามจะสวมชุด อ่าว หญ่าย สีสันต่าง ๆ เดินไปเที่ยวนอกบ้านบ้าง ไปตามถนนสาธารณะ หรือ อาจจะเป็นที่สำนักงาน ซึ่งถือว่าเป็นชุดที่ดูสุภาพ และสวยงาม บางครั้ง อาจจะเห็น สาวเวียดนามสวมชุดนี้ ไปโรงเรียน ซึ่งก็ถือว่าเป็นชุดนักเรียนของพวกเธอด้วย เด็กสาวชาวเวียดนามในชั้นมัธยม ทางรัฐบาลจะให้สวมชุด อ่าวหญ่าย สีขาว หรือ สีอื่น ๆ บ้าง เป็นเครื่องแบบประจำของพวกเธอ

ส่วนคนที่ดูมีอายุหน่อยก็มักจะใส่ชุดอ่าว หญ่ายนี้ โดยเลือกที่จะใส่ชุดสีเข้ม ๆ มีเนื้อผ้าที่มีราคา เช่น ผ้าสีดำ หรือ สีน้ำเงินเข้มบ้าง ซึ่งบางบริษัทก็เลือกที่จะสวมชุดอ่าวหญ่ายนี้เป็นชุดประจำบริษัทเลยทีเดียว

"อ่าว หญ่าย" แปลว่า "ชุด ยาว" ซึ่งสำเนียงนี้เป็นสำเนียงของภาคเหนือ ส่วนภาคใต้จะออกเสียงสั้น ๆ ว่า "อ่าว ซ่าย" ซึ่งส่วนมากแล้วในอดีตคนในภาคเหนือของประเทศเวียดนามจะนิยมใส่มากกว่าภาคใต้

แต่หลังจากสิ้นสุดสงครามเวียดนามในปี 1975 แล้ว ชุดนี้ก็เป็นที่นิยม สามารถพบเห็นได้แทบจะทุกภาคของประเทศ และได้รับความนิยมมาก

บทที่ 1 การทักทาย

การทักทายระหว่างคุณ Ba และคุณ Hà

Ông Ba:
Chào bà. Xin lỗi bà, tên bà là gì?

Bà Hà:
Dạ tên tôi là Hà. Còn ông, tên ông là gì?

Ông Ba:
Tên tôi là Ba.

Từ vựng (คำศัพท์)

ông โอง คุณผู้ชาย
bà บ่า คุณผู้หญิง
chào จ่าว คำทักทาย
xin lỗi
ซินโหลย ขอโทษ
tên เตน ชื่อ
là หล่า เป็น, คือ
gì หยี่ อะไร
Dạ หย่ะ ครับ, ค่ะ
tôi โตย ผม, ฉัน
còn ก่อน แล้ว....ล่ะ
Chào bà
จ่าว บ่า สวัสดีคุณผู้หญิง
Tên bà là gì?
เตนบ่าหล่าหยี่ คุณชื่ออะไร
Tên tôi là Hà.
โตย
เตนหล่า ฮ่า
ฉันชื่อ Ha

กาแฟเวียดนาม


การชงกาแฟที่นั่นแปลกดีครับ สำหรับคนที่ไม่ใช่คอกาแฟอย่างกระผม กาแฟที่นั่นเขาเอาผงกาแฟสดบดใส่ที่กรองใส่น้ำร้อนลงถ้วยและมีอุปกรณ์กดกดบีบบีบรีดรีด (ตามรูป) รสชาติกาแฟเข้มข้นมาก และได้กลิ่นไหม้ของกาแฟนิดนิด ดื่มเสร็จก็ตามด้วยน้ำชาร้อนๆ(=จ่า น้อม) ชุดนึง ขนาดผมดื่มข้างถนนนั่งเก้าอี้เด็กอนุบาลเตี้ยๆ ราคาก็ประมาณ 10 บาท ส่วนร้านเปิดประมาณหกโมงเช้า กาแฟก็มีสารพัดจะสั่ง พอจะยกตัวอย่างดังรูปก็เป็น กาแฟดำ(=ก่า เฟ แดง) อย่างอื่นก็มี เช่น กาแฟนมเย็น(=ก่า เฟ เสือ ด๊า),กาแฟยกล้อ(=ต.บัก สิว) เป็นคำใต้ จะเป็นกาแฟที่ใส่นมข้นตามน้ำแข็งและเหยาะด้วยน้ำกาแฟข้น(ซึ่งเตรียมใส่กระป๋องมาจากบ้านไว้แล้ว)

ผมมีเพื่อนชาวเวียดนามคนหนึ่งชอบทานกาแฟเป็นชีวิตจิตใจ แบบว่า ตื่นมาก็ต้องดื่ม ไม่รู้ว่าก่อนนอนดื่มไปอีกกี่ถ้วย ตอนแรกผมก็สงสัยเหมือนกันครับว่า นี่มันอะไรกันหว่า พอได้กลิ่น ก็พอเดาออก กลิ่นแบบนี้ พอมาเตะจมูกปั๊บ รู้ปุ๊บเลย กาแฟเวียดนามนี่เอง แต่ผมว่าสู้กาแฟของอิตาลีไม่ได้ หอมกว่าเยอะเลย...

แต่ถ้าได้มีโอกาสได้ไปที่เวียดนาม คงจะได้มีโอกาสทานแน่นอน เพราะว่าหาง่ายมาก และก็ไม่แพงด้วย ว่ากันว่า ร้านกาแฟของเวียดนามมีเกื่อบทุกป้ายรถเมล์ของเมืองไทยเลยล่ะ เค้าบอกว่ามันเป็นวัฒนธรรมของเขา มิน่าล่ะ ถึงได้กระฉับกระเฉง ขยันขันแข็ง ตื่นแต่เช้าตั้งแต่ตี 3 มาขายของ อันนี้ต้องยอมรับครับ...

สระผสมในภาษาเวียดนาม

สระผสมในภาษาเวียดนามมีดังนี้

-ac -ai -an -am -ao -ap -au -ay -ach -ang -anh

-ăc -ăm -ăn -ăp -ăt -ăng

-âc -âm -ân -âp -ât -âu -ây -âng

-ec -em -en -eo -ep -et -eng

-êch -êm -ên -êp êu ênh

-ia -im -in -it -iu -ich -inh -iêm -iêp -iêt -iêu -iêng

-oa -oc -oe -oi -om -on -op -ot -oai -oan -oap -oat

-oăn -oăt -ong -ang -oăng -oanh -oach

-ôc -ôi -ôm -ôn -ôp -ôt -ông

-ơi -ơm -ơn -ơp -ơt

-ua -uc -uê -ui -um -un -up -ut -uy -uân -uât -uây

-uôc -uôm -uôn -uôi -uôt -ung -uyp -uông -uyêt -uyên

-ưa -ưc -ưm -ưu -ươc -ưng -ươi -ươm -ươn

-ươp -ươt -ương

เสน่ห์เวียดนาม


ชุดนี้นิยมแต่งที่ภาคใต้เมืองโฮจิมินห์ เวลามีงานสำคัญ ผมจะเห็นผู้หญิงนิยมใส่ชุดคล้าย ชุด กี่เผ๊าของจีน แต่ที่เวียตนามเขาเรียกว่า "อ๊าว หย่าย"(Áo dài)ซึ่งก็มีความแต่งต่างกันบ้างเล็กน้อย ที่เป็นชุดยาวผ่ายาวถึงเอวรัดช่วงเอวและแขนยาว ขนาดพอดีตัว ชุดนึงมีสองชิ้น

ส่วนกระโปรงได้พัฒนาให้เหมาะกับการสวมใส่และความสะดวก จึงเป็นกางเกงกระโปรงผสมกัน ที่เห็นลวดลายดังรูปเป็นแบบประยุกต์ครับ เพราะของเดิมไม่ได้มีลวดลายเป็นแบบพื้นๆสีขาว และถ้าจะให้ครบสูตรต้องมีหมวกงอบ(Nón lá=น๊อง ล้า)ด้วยส่วนผู้ชายทางภาคใต้ก็แต่งชุดสากลธรรมดา แต่จริงแล้วประเพณีของเขาเริ่มมาจากภาคกลางซะเป็นส่วนมาก อันเนื่องมาจากเดิมทีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่ภาคกลางบริเวณแถบเมืองเว้(Huế)เป็นที่ตั้งของวังเก่า อาหาร วัฒนธรรม ดนตรี ประเพณีเก่าแก่ได้ถือกำเนิดที่นั่น

Sunday, September 13, 2009

ขนมปังเวียดนาม


คำน่าสนใจ "Bánh mì"

อ่านว่า "บั๊น หมี่" ขอแปลว่า "แฮมเบอร์เก้อเวียตนาม"

เป็นอาหารพื้นพื้นที่หากินได้ง่าย และราคาถูก สาระพัดที่จะเลือกใส่ ไม่ว่าจะเป็นหมูยอ,เนื้อหมู,เนื้อวัว หรือปลากระป๋อง ใส่หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ เนย(=เบอ) ซีอิ้ว พริกน้ำส้ม เลือกราคาก็ได้ ตั้งแต่ ประมาณ 7 บาทขึ้นไป นิยมกันในหมู่คนรายได้น้อย เก็บกินได้นาน ขนมปังจะแข็งโป๊กเลยเป็น fast food กินตอนเช้าตอนทำมาร้อนๆจะอร่อยมากจะเรียกว่าแฮมเบอร์เก้อเวียตนาม ก็ว่าได้ คนขายจะปั่นจักรยานตอนเช้าและมีคำร้องๆที่ ผมเคยได้ยิน ว่า"บั๊น หมี่ ไซ่ก่อน หมกแหง่ง หมก อ๋อ บั๊น หมี่ ไซ่ก่อน ดัก หรวด เทิม เบอ" ความหมาย คงประมาณว่าราคาถูก กินแล้วอิ่มท้อง

วัฒนธรรมเวียดนาม



วัฒนธรรมเวียดนามความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลัทธิขงจื๋อและศาสนาค่านิยมความเชื่อทัศนคติและโลกทัศน์ไม่ได้เป็นเอกภาพแต่ขึ้นกับถิ่นที่อยู่แต่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ(70%)คริสต์คาทอลิก(8%)นอกนั้นก็มีเต๋าอิสลามฮินดู กาวด่ายและนับถือผีฯลฯวัฒนธรรมครอบครัวประเพณีต่างๆก็เหมือนของไทยเรื่องการสมรสคู่สมรสต้องผ่าน6ขั้นตอนพิธีศพต้องมี8ขั้นตอน...ภาษาและศิลปะภาษาเดิมคือภาษาจีนโบราณเรียกว่าจื๋อญอ(Nho)ต่อมาใช้อักษรภาษาเวียดนามที่เรียกว่าจื๋อโนม(Nôm)และในที่สุดก็ใช้ภาษาที่เรียกว่าก๊วกหงือ(Quốc Ngữ)เป็นอักษรภาษาประจำชาติ

Saturday, September 12, 2009

การสะกดคำเพื่อออกเสียง

1. สะกดตัวสระก่อน โดยออกเสียงสระที่ใช้นั้น

2. แล้วออกเสียงตัวพยัญชนะต้น

3. ตามมาด้วยการออกเสียงวรรณยุกต์

ตัวอย่าง คำว่า Cô

อ่านว่า Ô , Cờ-Ô , Cô ( โอ , เกอ-โอ, โก )

 

วรรณยุกต์ในภาษาเวียดนาม

ภาษาเวียดนามประกอบด้วยวรรณยุกต์ 6 ระดับเสียง ดังนี้นะคร้าบ.....

เสียง 1 (a) ( สามัญ) ไม่มีเครื่องหมายครับผม

เสียง 2 (à) (แทง เหงี่ยน) ซึ่งใกล้เคียงกับเสียงเอกในภาษาไทย

เสียง 3(ã) (แทง หงะ-อ๊า) ไม่มีเทียบเสียงในภาษาไทย

เสียง 4 (ả) (แทง หอย) ใกล้เคียงกับเสียงจัตวาในภาษาไทย

เสียง 5 (á)(แทง ซัก) ใกล้เคียงกับเสียงตรีในภาษาไทย

เสียง 6 (ạ) (แทง หนั่ง) ใกล้เคียงกับเสียงสามัญในสระเสียงสั้น

สระภาษาเวียดนาม

สระเดี๋ยวมีทั้งหมด 11 ตัว

A Ă Â E Ê I O Ô Ơ U Ư

สระผสมมีอยู่ทั้งหมดหลายตัวครับ

ตัวอักษรภาษาเวียดนาม

ภาษาเวียดนามมีตัวอักษรทั้งหมด 29 ตัว ดังนี้คือ





การออกเสียงครับ 

เรียนภาษาเวียดนาม

จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ประเทศเพื่อนบ้านของเราประเทศหนึ่งที่กำลังพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว จนน่ากลัวว่าสักวันหนึ่งอาจจะแซงหน้าประเทศไทย ถ้าเราไม่พัฒนาบ้าง

การเรียนภาษา และวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่จะทำให้เราเข้าใจประเทศเพื่อนบ้านของเราประเทศนี้มากขึ้น ไม่ใช่ว่าจะเป็นการแบ่งเขาแบ่งเรา แต่เป็นการแบ่งปัน ในสิ่งที่เขามีและในสิ่งที่เรามี

ก่อนอื่นของบอกก่อนนะครับว่าเรียนภาษาเวียดนามไม่ยากหรอก ภาษา และ วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไปด้วยกัน การที่จะเข้าใจคนอย่างลึกซึ้งต้องเรียนรู้เรื่องเหล่านี้..

Nguyen Anh Bob